Rabbit in the Moon ลงทะเบียนใหม่สำหรับเข้าเว็บไซต์   |   เข้าสู่ระบบ English
หน้าแรก รู้จักเรา โครงการ กิจกรรม เรื่องราวธรรมชาติ กระดานดำ ร่วมมือกัน   ติดต่อเรา
 
ร้านมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ กระต่ายในดวงจันทร์
ทีวีสินแร่จิ๋วแต่แจ๋ว
11-14 พฤษภาคม 2552
กิจกรรมปฐมนิเทศ: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ
แก่นสาระ (จุดประสงค์): ศึกษาธรรมชาติโดยศิลปะวิธี (nature appreciation)
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
น.ส.ธนันดา เทพสิงห์ (แก้ว) สาขานิเทศศาสตร์ เอกวิทยุและโทรทัศน์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ปี3) มหาวิทยาลัยศิลปากร นายจิรัชย์ ไพบูลย์วงศ์เจริญ (เต้) สาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ นายภควัต ทวีปวรเดช (เต่า) สาขาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี3) มหาวิทยาลัยมหิดล น.ส.สุทธิพร เรืองฤทธิศักดิ์ (แม้ว) สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (ปี2) พระจอมเกล้าพระนครเหนือ นายโชคนิธิ คงชุ่ม (เก่ง) สาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี น.ส.ธนาลัย พูลศิริ (หยิน) สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยมหิดล น.ส.ชรินรัตน์ ขุนขำ (จูน) สาขานิเทศศาสตร์ เอกวารสารและหนังสือพิมพ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ปี3) มหาวิทยาลัยศิลปากร
น.ส.ธันธิมา สุวรรณถาวรกุล (เน็ท) คณะเภสัชศาสตร์ (ปี3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น.ส.พรพิมพ์ แซ่ลิ้ม (จิ๋ง) สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยรามคำแหง น.ส.สิรวดี ภควลีธร (กี้) ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร (ปี4) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ น.ส.ประภาพัชร ชุณหวรากรณ์ (บับเบิ้ล) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง น.ส. สุภัชญา เตชะชูเชิด (แอน) สาขาชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยมหิดล น.ส.สิรินภรณ์ แสนสมบัติ (แป้ง) สาขาบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ปี4) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายปฐวี อินทรอภัยพงษ์ (ดรีม) เอกศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ (ปี2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายนัฐพล พงศ์นราทิพย์ (ต๊อบ) สาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
นายเจษฎา อิงอมรรัตน์ (โฟน) สาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ น.ส.วรรณวลัย ชอบอิสระ (นิว) คณะทันตแพทยศาสตร์ (ปี2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น.ส.วรรณเพ็ญ แซ่เปี่ยน (ฟาง) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสาตร์ (ปี3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายปิติบดี ระวียันต์ (บอล) สาขาทัศนศิลป์ - ศิลปะจินตคณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มศว. น.ส.ปัทมปาณี สมัครการ (ดิว) ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายณัฐวัฒน์ ธีระเลิศธรรม (ท๊อป) international studies-Relation, Social Science (ปี3) Mahidol University International College นายไชยวิทย์ ดาราประดิษฐ์ (วิทย์) สาขาการตลาดและโลจิสติกส์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ปี3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    


เหตุการณ์/กิจกรรมที่เกิดขึ้น

11 พ.ค.: การเดินทางทริปแรกของชาวแฮชยูคือ เดินทาไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว เป็นการเดินทางที่ยาวไกลมาก แต่ระหว่างทางก็มีเรื่องตื่นเต้นเล็กๆน้อยๆคือ เต่าลืมกระเป๋ากล้องไว้ที่ร้านอาหารในอ.หนองบัวแดง
สองข้างทางเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวเต็มไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ เจอตะกวด หมาใน ไก่ป่า ผีเสื้อ กวาง ซึ่งทำให้พวกเราตื่นตาตื่นใจมาก น้องๆที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพันธุ์พืชหรือสัตว์ได้อธิบายให้เพื่อนๆในรถฟัง แม้จะพูดด้วยศัพท์เทคนิคบ้าง แต่ก็พยายามอธิบายให้เพื่อนๆคนที่ไม่เข้าใจให้เข้าใจกันได้ จนมาถึงภายในสำนักงานของเขตรักษาพันธุ์ฯ ขณะนั้นฝนตกหนัก เราเข้าที่พักแบบชุ่มฉ่ำ เมื่อน้องๆได้แยกย้ายเก็บสัมภาระของตนตามที่พักแล้วนั้น เราก็ได้มาล้อมวงเปิดตัวต้อนรับกันอย่างเป็นทางการ เริ่มจากการแจกเสื้อโครงการคนละ 2 ตัว และหนังสือกาลานุกรม ลุงอ๋อยก็ได้อธิบายสิ่งที่เราจะทำ เรื่องที่เราจะได้ไปเรียนรู้กันมีทั้งเรื่อง ป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำของภาคอีสาน การเรียนรู้และการทำงานจากเจ้าหน้าที่ของเขตฯ ซึ่งการที่จะทำให้เราเรียนรู้นั้นต้องใช้การสัมผัสทางใจด้วย การใช้ความรู้สึก และการสัมผัสโลกตามความเป็นจริงตามความรู้สึกนั้นเราต้องแขวนความคิดไว้ ต้องเตือนสติตัวเองและเรียนรู้กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรา แล้วลุงอ๋อยก็ได้อธิบายถึงวิธีการใช้อุปกรณ์สร้างศิลปะ คือ กรอบรูปสำหรับวาดภาพ สีชอล์ก การวาดลายเส้นด้วยหมึกจีนและปากกาจากกิ่งไม้ หลังจากที่น้องๆทดลองใช้อุปกรณ์ต่างๆอย่างสนุกสนาน เราพาไปทดลองใช้แผนที่เสียง อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญที่ต้องเปิดประสาทการฟัง เราเดินทางไปที่ทุ่งกระมัง ถ่ายรูปและลงมือทำแผนที่เสียงโดยที่ต่างคนก็ต่างเลือกพื้นที่ของตัวเองในการฟังเสียงธรรมชาติ
ตอนเย็นทานข้าวเสร็จ น้องๆปริ้นท์รูปภาพที่ได้ไปถ่ายรูปที่ทุ่งกระมังแล้ว มาแลกเปลี่ยนความเห็นกันคร่าวๆกันในกลุ่มใหญ่ว่าตัวเองนั้นรู้สึกอย่างไรกับภาพบ้าง และเรากลับไปที่ทุ่งกระมังอีกครั้งด้วยความตั้งใจว่าจะพาไปดูดาว ดูพระจันทร์กัน แต่คืนนี้มีเมฆมากเลยทำให้เราไม่เห็นอะไร จากนั้นแบ่งกันกลุ่มย่อยพูดคุยกันในความมืดที่ทุ่งกระมัง

12 พ.ค.: มีน้องบางคนก็ตื่นกันแต่เช้าเพื่อไปดูนก เราไปที่ชุมชนของหมู่บ้านทุ่งลุยลาย และมีเจ้าหน้าที่ของเขตฯร่วมเดินทางไปกับเราด้วย เมื่อเราถึงพื้นที่ของหมู่บ้านกันทุกคน ก็ได้เจอพี่ๆเจ้าหน้าที่ของคันอื่นๆด้วย และพี่ๆเจ้าหน้าที่ก็มาอธิบายพื้นที่ของหมู่บ้านด้วย จากหมู่บ้านทุ่งลุยลายเราก็ไปต่อกันที่เขื่อนจุฬาภรณ์ซึ่งเป็นเขื่อนที่อยู่ใกล้กับเขตรักษาพันธุ์ฯ ได้เห็นรูปแบบการใช้น้ำอีกรูปแบบหนึ่ง เราพักผ่อน ทานอาหารกลางวันที่นั่น 
จากนั้นเราเดินทางกลับเข้ามาในเขตรักษาพันธุ์ฯ เราทำกิจกรรมศึกษาธรรมชาติโดยศิลปะวิธีที่ลานจันทร์ เราทำหน้าต่างใบไม้ วาดภาพด้วยสีชอล์กลงในสมุดบันทึก วาดภาพด้วยหมึกจีนซึ่งพี่ๆก็ช่วยน้องๆสอนทำปากกาวาดภาพ ทุกคนต่างตั้งใจทำทุกๆอย่าง บางคนเลือกมุมสงบสำหรับวาดภาพน้ำตก บางคนเดินหาใบไม้สวยๆเพื่อทำหน้าต่าง บางคนก็นั่งเอาขาหย่อนน้ำอย่างสบายใจ และไม่ลืมที่จะถ่ายภาพสวยๆด้วย ตอนเย็นหลังทานอาหารเย็น เราไปที่สำนักงานของเขตรักษาพันธุ์ เพื่อดูวีดิทัศน์เกี่ยวกับความเป็นมาของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว และฟังบรรยายจากเจ้าหน้าที่เขตละ เรายังได้ดูการรับสมัครเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน วิธีการฝึกฝนของหน่วยลาดตระเวน ภารกิจต่างๆของเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงอันตรายที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่
เรากลับมาที่โถงกิจกรรมเพื่อทำการพูดคุยแลกเปลี่ยน แต่เรามีเซอร์ไพส์น้องๆด้วยการทำโคมไฟจากหน้าต่างใบไม้ของน้องๆ ทุกคนตื่นเต้นกันมากวิ่งปรีไปหาโคมไฟที่ตั้งเรียงรายเป็นทางยาว เราแจกแว่นขยายให้น้องๆเพื่อส่องใบไม้ ดูเส้นสายของใบไม้ แล้วเราก็พูดคุยแลกเปลี่ยนท่ามกลางแสงเทียน

13 พ.ค.: ตื่นกันแต่เช้า ก่อนเตรียมตัวไปเดินป่าเราวอร์มอัพร่างกาย กระตุ้นประสาทสัมผัสด้วยการแบ่งกลุ่มเล่นบอลสี ภูเขียวน้อยคือที่ที่เราจะไปเดินป่ามีระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เราสวมถุงเท้ากันทากเพราะมีรายงานมาว่าทากชุกชุมและใส่เสื้อกันฝนเพราะฝนตั้งเค้ามาแล้ว ระหว่างทางพี่เจ้าหน้าที่เขตฯ และน้องๆที่มีความรู้ก็มาอธิบายทั้งพันธุ์พืชและสัตว์ให้เพื่อนๆฟัง ระหว่างนั้นก็หยิบตัวทากออกจากถุงเท้า อาจจะมีเสียงกรี๊ดกราดบ้าง (ดูมีสีสัน) บางทีฝนก็ตกปรอยๆและก็หยุดตก
เราพักทานข้าวกลางวันบนยอดเขาที่มองออกไปเห็นภูเขาอีกลูกและอีกหลายๆลูก มีเวลาพักเหนื่อยก็ปล่อยให้น้องเก็บความรู้สึกลงสมุดบันทึก จะวาดภาพระบายสีหรือวาดด้วยหมึกจีน ฟ้าฝนเป็นใจไม่ปล่อยเม็ดฝนลงมาขณะที่เราเดินกลับกัน แต่ก็ยังมีเจอตัวทากบ้าง หลังจากพักเหนื่อย อาบน้ำ ซักถุงเท้ากันทาก ลุงอ๋อยเชิญ ดร.กาญจนา นิตยะ มาพูดคุยกับน้องๆ เล่าถึงประสบการณ์การทำงาน ปัญหาที่ประสบ และน้องๆก็ได้ถามคำถามกับดร.กาญจนา ก็จะมีพูดถึงการทำงานของผู้หญิงอย่างดร.กาญนามีปัญหาในการสั่งงานควบคุมงานบ้างไหม และมีกำลังใจในการทำงานอย่างไร และทำอย่างไรถึงได้มาทำงานตรงนี้ได้ ซึ่งดร.กาญจนา ก็ตอบทุกคำถามอย่างเป็นกันเอง จากนั้นเราก็เดินทางมานอนดูดาวกันที่ทุ่งกระมัง คืนนี้ยังท้องฟ้าไม่เปิดและมีเมฆมาก เราเลยนอนดูเมฆ ดูหิ่งห้อยกัน น้องๆชวนคุยกันสัพเพเหระ นอนฟังเรื่องเล่าจากลุงอ๋อยบ้าง บ้างก็หลับกันไป

14 พ.ค.: วันสุดท้ายก่อนเดินทางกลับ เราล้อมวงมาฟังลุงอ๋อยสรุปเรื่องราวกันและมีคำถามว่า too little too late ในการพูดคุยในวงใหญ่ และออกเดินทางไปขอบคุณ ร่ำลาพี่ๆเจ้าหน้าที่กันที่สำนักงานก่อนกลับ ก่อนจะออกจากพื้นที่แวะมาดูศูนย์เพาะพันธุ์นกด้วย แต่น่าเสียดายที่ใช้เวลาไม่มากเพราะฝนตกหนักทำให้เราต้องดูอย่างเร็วๆ ระหว่างทางแวะเอากระเป๋ากล้องของเต่าที่ลืมไว้ด้วย


ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1. น.ส.ธนันดา เทพสิงห์ (แก้ว) สาขานิเทศศาสตร์ เอกวิทยุและโทรทัศน์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ปี3) มหาวิทยาลัยศิลปากร

2. นายจิรัชย์ ไพบูลย์วงศ์เจริญ (เต้) สาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
3. นายภควัต ทวีปวรเดช (เต่า) สาขาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี3) มหาวิทยาลัยมหิดล
4. น.ส.สุทธิพร เรืองฤทธิศักดิ์ (แม้ว) สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (ปี2) พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
5. น.ส.นันทพร สุทธิพงษ์ไกวัล (ป่าน) สาขาBBA in hotel management คณะวิทยาลัยนานาชาติ (ปี2) มหาวิทยาลัยศิลปากร
6. นายณัฐดนัย บุตรา(ฟีน) สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์ ภาควิชาไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ปี2) มหาวิทยาลัยศิลปากร
7. นายโชคนิธิ คงชุ่ม (เก่ง) สาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
8. น.ส.ธนาลัย พูลศิริ (หยิน) สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยมหิดล
9. น.ส.ชรินรัตน์ ขุนขำ (จูน) สาขานิเทศศาสตร์ เอกวารสารและหนังสือพิมพ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ปี3) มหาวิทยาลัยศิลปากร
10. น.ส.ธันธิมา สุวรรณถาวรกุล (เน็ท) คณะเภสัชศาสตร์ (ปี3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11. น.ส.พรพิมพ์ แซ่ลิ้ม (จิ๋ง) สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
12. น.ส.สิรวดี ภควลีธร (กี้) ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร (ปี4) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
13. น.ส.ประภาพัชร ชุณหวรากรณ์ (บับเบิ้ล) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
14. น.ส. สุภัชญา เตชะชูเชิด (แอน) สาขาชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) มหาวิทยาลัยมหิดล
15. น.ส.สิรินภรณ์ แสนสมบัติ (แป้ง) สาขาบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ปี4) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16. นายปฐวี อินทรอภัยพงษ์ (ดรีม) เอกศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ (ปี2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
17. น.ส.ปรียาภรณ์ ไทยศรีวงศ์ (แบงค์) สาขาการโค้ชกีฬาและจิตวิทยาการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา (ปี4) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
18. นายนัฐพล พงศ์นราทิพย์ (ต๊อบ) สาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
19. นายเจษฎา อิงอมรรัตน์ (โฟน) สาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
20. น.ส.วรรณวลัย ชอบอิสระ (นิว) คณะทันตแพทยศาสตร์ (ปี2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
21. น.ส.วรรณเพ็ญ แซ่เปี่ยน (ฟาง) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสาตร์ (ปี3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
22. นายปิติบดี ระวียันต์ (บอล) สาขาทัศนศิลป์ - ศิลปะจินตคณะศิลปกรรมศาสตร์ (ปี4) มศว.
23. น.ส.ปัทมปาณี สมัครการ (ดิว) ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ (ปี2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
24. นายณัฐวัฒน์ ธีระเลิศธรรม (ท๊อป) international studies-Relation, Social Science (ปี3) Mahidol University International College
25. นายไชยวิทย์ ดาราประดิษฐ์ (วิทย์) สาขาการตลาดและโลจิสติกส์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ปี3) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย





Rabbitinthemoon.org | มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์